งานบริการ
การบริการส่วนกลาง
มูลนิธิฯ มีหน่วยงานที่ทำการฟื้นฟูสมรรถภาพบุคคลปัญญาอ่อน ด้านการแพทย์ การศึกษา การฝึกอาชีพ และ
การสังคม ระดับต่างๆ โดยมีศูนย์ฯ และโรงเรียนที่ให้บริการจำนวน 8 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพ มหานครและ
ปริมณฑล 5 แห่ง คือ
1. โรงเรียนปัญญาวุฒิกร
ให้การศึกษาแก่บุคคลปัญญาอ่อนระดับเล็กน้อยและปานกลางรวมทั้งเด็กออทิสติกและเด็กที่มีปัญหาทาง
พฤติกรรมในรูปโรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการ ตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียน จนถึงระดับประถม พิเศษ ปีที่ 6
ให้การเตรียมความพร้อมปรับพฤติกรรม ฝึกพูด นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์ปฏิบัติการด้านการศึกษา แก่บุคลากรจาก
หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
ปัจจุบันมีนักเรียนจำนวน 177 คน และมีนักเรียนที่เรียนจบหลักสูตรได้รับวุฒิบัตรแล้ว 15 รุ่น
2. ศูนย์การเรียนรู้พิเศษประภาคารปัญญา
ให้บริการฝึกเด็กปัญญาอ่อนระดับปานกลางถึงระดับรุนแรงและที่มีความพิการซ้ำซ้อน โดยมุ่งพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันเพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ในปัจจุบันศูนย์ฯ แห่งนี้มีเด็กปัญญาอ่อนมารับบริการจำนวน 78 คน
3. ศูนย์ฝึกอาชีพปัญญาคาร
ให้การฝึกอาชีพด้านคหกรรม เกษตรกรรมและศิลปะหัตถกรรม ขณะนี้บุคคลปัญญาอ่อนวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่มารับการฝึกอาชีพทั้งประเภทประจำและไป – กลับ จำนวน 60 คน
4. ศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษชุมชนคลองเตย , ศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษชุมชนทุ่งสองห้อง
ศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษทั้งสองแห่งให้บริการเด็กปัญญาอ่อนและครอบครัวในชุมชนแออัด ศูนย์ฯ ทั้งสองจะให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มด้วย การกระตุ้นพัฒนาการ เสริมสร้างทักษะ แก้ไขปัญหา ด้านพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กปัญญาอ่อนให้คำแนะนำการเลี้ยงดูอย่างถูกวิธีแก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง มีเด็กปัญญาอ่อนมารับบริการแต่ละแห่งจำนวน 50 – 60 คน เด็กปัญญาอ่อนเหล่านี้ส่วนใหญ่ พ่อ แม่ ผู้ปกครองมีฐานะยากจน ศูนย์ฯ ทั้งสองแห่งนี้ นอกจากจะให้บริการแก่เด็กปัญญาอ่อนโดยตรงแล้ว ยังเป็นสถานเลี้ยงดูเพื่อให้ผู้ปกครองได้มีเวลาประกอบอาชีพได้
5. ศูนย์พัฒนาปัญญา
ศูนย์พัฒนาปัญญาได้ดำเนินการฝึกอาชีพ โครงการเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคนพิการทางสติปัญญาสู่การมีงานทำ ปัจจุบันมีบุคลากร 7 คน มีนักเรียน 9 คน
การบริการในส่วนภูมิภาค
1. ภาคเหนือ ที่่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2529
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อปี พ.ศ. 2526
3. ภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2529
4. ภาคกลาง ที่จังหวัดราชบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2557
มูลนิธิฯ ได้ขยายการดำเนินงานไปสู่ภูมิภาค โดยได้จัดตั้งศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อน ดังนี้
การดำเนินงานของศูนย์ฯ ภาค เป็นตัวแทนในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ภายในภาคและให้บริการ
ฟื้นฟูสมรรถภาพบุคคลปัญญาอ่อนด้านการแพทย์ การศึกษา การฝึกอาชีพ และการสงเคราะห์เช่นเดียวกับส่วนกลาง
ซึ่งแต่ละศูนย์ฯ มีเด็กปัญญาอ่อนมารับบริการจำนวน 30 – 40 คน ยกเว้นศูนย์ฯ ภาคใต้ การเรียนการสอน
อยู่ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ