ออทิสติกคืออะไร ต่างกับปัญญาอ่อนตรงไหน?
ออทิสติกคืออะไร ต่างกับปัญญาอ่อนตรงไหน?
เด็กหรือบุคคลออทิสติกคือเด็กหรือบุคคลที่ความผิดปกติทางสมองอย่างหนึ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา ถ้าลูกใครหูหนวกตาบอดแขนขาดขาขาดปัญญาอ่อน อันนี้เราดูหรือตรวจทางการแพทย์รู้เลย
ในความเห็นส่วนตัว เด็กออทิสติกสามารถนำมาพัฒนาศักยภาพด้านสมองได้(ดูอย่าง ไอสไตล์ และ นิวตันสิ เขาต่างเป็นออทิสสึ่ม) ในขณะที่เด็กปัญญาอ่อนทำไม่ได้อย่างแน่นอน (ยังไม่เคยได้ยินว่าเด็กปัญญาอ่อนคนไหนเป็นอัจฉริยะเลย) โดยเฉพาะ ปัญญาอ่อน ระดับ 4 อ้อ ลืมบอกไปว่า ภาวะปัญญาอ่อนมา 4 ระดับค่ะ
โรคออทิสติก (Autistic Disorder) หรือ ออทิสซึม (Autism) เป็นความบกพร่องของพัฒนาการรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ นับเป็นเวลา 60 ปีแล้ว คำว่า “Autism” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ว่า “Auto” ซึ่งแปลว่า Self หมายถึง แยกตัวอยู่ตามลำพังในโลกของตัวเอง เปรียบเสมือนมีกำแพงใส หรือกระจกเงา กั้นบุคคลเหล่านี้ออกจากสังคมรอบข้าง
ลักษณะอาการและการวินิจฉัย
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคออทิสติก ตามคู่มือการวินิจฉัยโรค DSM-IV โดยสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Psychiatric Association’s Diagnostic and Statistic Manual of Mental Disorder – Forth Edition, 1994) จัดโรคออทิสติก (Autistic Disorder) อยู่ในกลุ่ม “Pervasive Developmental Disorders” ซึ่งก็คือ มีความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน แสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ก่อให้เกิด พัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และการสื่อสาร ไม่เป็นไปตามปกติ มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ผิดปกติ
ออทิสติก หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการแตกต่างไปจากเด็กปกติ และส่งผลกระทบต่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความสามารถในการสื่อสาร การใช้จินตนาการ อารมณ์ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็ก
ในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนถึงสาเหตุของการเกิดภาวะออทิซึม แต่มีข้อสันนิษฐานว่า มีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลให้ การทำงานในหน้าที่ต่างๆ ของสมองไม่สมบูรณ์แบบหลายประการ เช่น ทางชีววิทยา ปัจจัยด้านความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง ความผิดปกติของสมองด้าน การทำงาน การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ หรือขณะคลอด
ปัญญาอ่อน หมายถึง ภาวะที่เกิดจากความผิดปกติทางสติปัญญาซึ่งเกิดขึ้นในระยะพัฒนาการของสมองตั้งแต่บุคคลนั้นปฏิสนธิจนถึงอายุ 18 ปี โดยจะปรากฏความผิดปกติในความสามารถด้านสติปัญญา และพฤติกรรมการปรับตัว
สาเหตุภาวะปัญญาอ่อน
1. ปัจจัยทางชีวภาพได้แก่ ความผิปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
2. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่นจากสมอง ได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุหรือจากการใช้เครื่องมือช่วยในการทำคลอด การใช้สารเคมีในขณะตั้งครรภ์,ขณะคลอด และหลังคลอด ผิดปกติ กัมมันตภาพรังสี โดยเฉพาะในรายที่รับการบำบัดทางรังสีวิทยา
3. ปัจจัยทางจิตและสังคม ได้แก่ ความผิดปกติในปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เลี้ยงดูกับเด็ก ความผิดปกติทางจิตของผู้เลี้ยงดูเด็ก หรือของเด็กเอง
ในความเห็นส่วนตัว เด็กออทิสติกสามารถนำมาพัฒนาศักยภาพด้านสมองได้(ดูอย่าง ไอสไตล์ และ นิวตันสิ เขาต่างเป็นออทิสสึ่ม) ในขณะที่เด็กปัญญาอ่อนทำไม่ได้อย่างแน่นอน (ยังไม่เคยได้ยินว่าเด็กปัญญาอ่อนคนไหนเป็นอัจฉริยะเลย) โดยเฉพาะ ปัญญาอ่อน ระดับ 4 อ้อ ลืมบอกไปว่า ภาวะปัญญาอ่อนมา 4 ระดับค่ะ
คำตอบที่ดีที่สุด: ออทิสติก เป็น “pervasive developmental disorders” ซึ่งก็คือมีความผิดปกติในด้านพัฒนาการอย่างรอบด้าน แสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ก่อให้เกิดพัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสาร ไม่เป็นไปตามปกติ ส่งผลให้มี พฤติกรรมความสนใจ และกิจกรรมที่ผิดปกติ
ลักษณะต่าง ๆ ในบุคคลออทิสติก
– เข้ากับคนอื่นได้ยาก หรือไม่ได้เลย -ชอบอยู่คนเดียว
– ทำอะไรซ้ำ ๆ -ไม่ชอบให้กอด
– หัวเราะอย่างไม่มีเหตุผล – หมุนตัว หรือสิ่งของ
– กลัวในสิ่งไม่สมควรกลัว – กระตุ้นตัวเอง
– ไม่สบตาคน – หงุดหงิด งอแง โดยไม่มีเหตุผล
– ไม่ตอบสนองต่อการสอนตามปกติ – เรียกไม่หัน
– มีท่าทางการเล่นแปลก ๆ – ติดวัตถุ สิ่งของบางชิ้น
– อาจไว หรือไม่ไวต่อความเจ็บปวด – ส่งเสียงประหลาด
– กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กพัฒนาไม่ปกติ
-.แสดงความต้องการไม่ได้ ใช้ท่าทาง หรือจับมือผู้อยู่ใกล้ไปหยิบของที่ต้องการ
การสังเกตพฤติกรรมในบุคคลออทิสติก
บุคคลออทิสติก จะมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ
1.ความสัมพันธ์ทางสังคม 2.การสื่อสาร 3.ความสนใจและกิจกรรม
ลักษณะพิเศษของบุคคลออทิสติก
1.บกพร่องในด้านความสัมพันธ์ทางสังคม
2.บกพร่องในด้านการสื่อสาร
3.พฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างจำกัดและซ้ำ ๆ
บุคคลออทิสติกแต่ละคน มีความสามารถแตกต่างกันอย่างมาก
ออทิสติกแต่ละคน จะแตกต่างกัน สภาพปัญหาต่างกัน แนวทางการรักษาจึงย่อมแตกต่างกัน
สาเหตุการเกิดออทิสซึม
1.ทางพันธุกรรม อยู่ในระหว่างการศึกษา ค้นคว้า ยังไม่พบคำตอบที่ชัดเจน แต่พบว่าฝาแฝดจากไข่ใบเดียวกัน ถ้าคนหนึ่งเป็นออทิสติก อีกคนจะเป็นด้วย
2.โรคติดเชื้อ ปัจจุบันยังไม่พบว่าเชื้อโรคชนิดใดที่ก่อให้เกิดกลุ่มอาการออทิสซึม
3.ประสาทวิทยา จากการศึกษาของ Magaret Bauman กุมารแพทย์ จากโรงพยาบาลบอสตันซิติ พบว่า ออทิสติก จะมีความผิดปกติในสมอง 3 แห่ง คือ limbic system, cerebellum และ cerebellar circuits ปัจจุบัน พบว่า ในพื้นที่ทั้ง 3 แห่ง มีความผิดปกติ ดังนี้
1.Purkinje cells เหลือน้อยมาก
2.ยังคงเหลือ “วงจร” เซลประสาท ซึ่งจะพบได้แต่ในตัวอ่อนเท่านั้น “วงจร” เซลประสาทที่เหลือนี้จะเชื่อมต่อกับ ระบบประสาทส่วนกลางทั้งหมด
3.มีเซลประสาทเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในบริเวณ limbic system, hippocampus, amygdala จากการค้นพบนี้ Bauman สรุปว่า ออทิสซึม มีความผิดปกติด้านพัฒนาการของสมอง ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อน ในระยะ 30 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ความผิดปกตินี้ ส่งผลให้ Limbic system ไม่มีการพัฒนา limbic system เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรม การรับรู้ และความจำ เมื่อบริเวณนี้ผิดปกติจึงมีผลให้ความสัมพันธ์ทางสังคม ภาษา และการเรียน ผิดปกติไปด้วย (Bauman, 1991)
4.Neurochemical Causes(สารประกอบทางเคมีในระบบประสาท) พบว่ามี neurotransmittersบางตัว สูงผิดปกติ ได้แก่ serotonin, dopaminergic และ endogenous opioid systems แต่เมื่อใช้ยาที่ต้านสารเหล่านี้ กลับไม่ทำให้อาการต่าง ๆ ในออทิสซึมดีขึ้น
5.การบาดเจ็บ ก่อน ระหว่าง และหลังการคลอด
เรามักพบอยู่เสมอว่าเด็กออทิสติกมักจะเล่นคนเดียว ไม่เล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน
บุคคลออทิสติกก็ชอบอยู่คนเดียว ไม่สุงสิงกับใคร
หัวใจของการช่วยเหลือเด็กหรือบุคคลออทิสติกนั้น กิจกรรมการเรียนการสอนการฝึกทักษะที่ทีมครูจัดให้เด็กจะต้องมีแผนการสลายและดัดแปลงพฤติกรรมผิดปกติที่ไม่พึงประสงค์และสร้างเสริมพฤติกรรมแบบคนปกติที่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วยเสมอ จนกระทั่งไม่พบพฤติกรรมที่ผิดปกติและหรือเหลือเป็นพฤติกรรมที่ปกติเท่านั้นในที่สุด
จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ ว่าออทิสติกเป็นปัญหาที่พฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมการเรียนรู้ ซึ่งส่งผลต่อเนื่องถึงพฤติกรรมทางสังคม นี่คือข้อแตกต่างจากผู้พิการหรือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มอื่นๆ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ของเด็กกลุ่มออทิสติก ด้วยข้อบ่งชึ้ทางการแพทย์ที่ว่าพฤติกรรมที่ผิดปกตินี้เกิดจากความผิดปกติของสมองและระบบประสาทสัมผัสทั้งห้าทำให้เด็ก หรือบุคคลออทิสติกมี การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและ การประมวลผลข้อมูลในสมองเบี่ยงเบนไปจากของคนปกติ ส่งผลให้การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมเบี่ยงเบนไปจาก ของคนปกติออทิสติก จึงไม่ใช่เรื่องของคนโรคจิต จึงเป็นความผิดบาปอย่างมหันต์ที่จะปล่อยให้เด็กหรือบุคคลกลุ่มนี้ โดยเฉพาะกับเด็กเล็กๆ อายุเพียงสองสามขวบถูกปฎิบัติอย่างกับคนโรคจิตจากบุคลากร ทางการแพทย์ด้ว
ที่มา:
https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20090806022439AAFBO45